ความเป็นมาของโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

นิทรรศการภาพถ่าย เพื่อรัก…อย่างปลอดภัย

เปิดรับการสนับสนุนและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ในสังคม..ร่วมยุติเอดส์ในประเทศไทย 

นิทรรศการภาพถ่าย เพื่อรัก…อย่างปลอดภัย

เปิดรับการสนับสนุนและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ในสังคม..ร่วมยุติเอดส์ใประเทศไทย 

ปัจจุบันพบว่า...เยาวชนยังเผชิญปัญหาความไม่ปลอดภัย
จากการรับเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
แม้ว่า ทั่วโลกมีความก้าวหน้าในการป้องกันและรักษา
เอชไอวี/เอดส์ แต่เอดส์ยังไม่หายไปจากสังคมไทย
อัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ยังคงมีต่อเนื่อง
ปัจจุบันพบว่า...เยาวชนยังเผชิญปัญหาความไม่ปลอดภัย จากการรับเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แม้วา ทั่วโลกมีความก้าวหน้าในการป้องกันและรักษา เอชไอวี/เอดส์ แต่เอดส์ยังไม่หายไปจากสังคมไทย อัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ยังคงมีต่อเนื่อง
โดยในปี พ.ศ. 2566 คาดประมาณผู้มีเชื้อเอชไอวีทั้งประเทศ 560,000 คน เสียชีวิต
11,000 คน และผู้มีเอชไอวีรายใหม่ 9,200 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีเชื้อเอชไอวี
รายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชน และยังมีหลายคนที่ไม่เคยทราบสถานะผลเลือดตนเอง
ไม่ทราบว่าจะต้องปรึกษาใคร และไม่สามารถเข้าถึงบริการในการป้องกันโรคและรักษาได้
โดยในปี พ.ศ. 2566 คาดประมาณผู้มีเชื้อเอชไอวีทั้งประเทศ 560,000 คน เสียชีวิต 11,000 คน และผู้มีเอชไอวีรายใหม่ 9,200 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีเชื้อเอชไอวี รายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชน และยังมีหลายคนที่ไม่เคยทราบสถานะผลเลือดตนเอง ไม่ทราบว่าจะต้องปรึกษาใคร และไม่สามารถเข้าถึงบริการในการป้องกันโรคและรักษาได้
โดยในปี พ.ศ. 2566 คาดประมาณผู้มีเชื้อเอชไอวีทั้งประเทศ 560,000 คน เสียชีวิต11,000 คน และผู้มีเอชไอวีรายใหม่ 9,200 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชน
และยังมีหลายคนที่ไม่เคยทราบสถานะผลเลือดตนเอง ไม่ทราบว่าจะต้องปรึกษาใคร และไม่สามารถเข้าถึงบริการในการป้องกันโรคและรักษาได้

ประเทศไทยมีเป้าหมายยุติปัญหาเอดส์ในปี พ.ศ.2573
กล่าวคือ

ประเทศไทยมีเป้าหมายยุติปัญหาเอดส์ในปี พ.ศ.2573
กล่าวคือ

  • ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่ให้มีเกินปีละ 1,000 ราย
  • ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่เกินปีละ 4,000 ราย
  • และลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ
    ลงร้อยละ 90

 

ปัจจุบันพบว่า...เยาวชนยังเผชิญปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการรับเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
แม้ว่า ทั่วโลกมีความก้าวหน้าในการป้องกันและรักษาเอชไอวี/เอดส์ แต่เอดส์ยังไม่หายไปจากสังคมไทย
อัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ยังคงมีต่อเนื่อง

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จึงร่วมกับกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) และมูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (TNAF)

จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ เข้าถึงเยาวชนเพื่อส่งเสริมการตรวจเลือด           หาเอชไอวีด้วยตนเองและการให้คําปรึกษาออนไลน์ ภายใต้ชื่อโครงการ Stand by you โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2565

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จึงร่วมกับกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) และมูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (TNAF)

จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ เข้าถึงเยาวชนเพื่อส่งเสริมการตรวจเลือด           หาเอชไอวีด้วยตนเองและการให้คําปรึกษาออนไลน์ ภายใต้ชื่อโครงการ Stand by you โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2565

โครงการ Stand by you มีผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน (14 มกราคม 2567)
132,229 ครั้ง

ที่ประชาชนเข้าถึงบริการ

8,698 ชุด

ที่เราจัดส่งชุดตรวจหาเอชไอวี

273,971 ข้อความ

ในการให้คำปรึกษาทางออนไลน์

220 ราย

ที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวี

พร้อมส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันด้วยวิธีมาตรฐานในโรงพยาบาลและเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงและไม่แพร่เชื้อต่อ ส่วนผู้ที่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อฯ

จะได้รับข้อมูลให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันเอชไอวีตลอดไป  

พร้อมส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันด้วยวิธีมาตรฐานในโรงพยาบาลและเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงและไม่แพร่เชื้อต่อ ส่วนผู้ที่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อฯ จะได้รับข้อมูลให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน
เอชไอวีตลอดไป


จากความสําเร็จของโครงการฯ ในระยะแรกที่เข้าถึงผู้รับบริการจำนวนมาก จึงต้องเตรียม ความพร้อมให้การดำเนินงานต่อเนื่องในระยะที่สอง

โดยการพัฒนาระบบและปรับปรุงแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการ นำเทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ มาร่วมใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล ปริมาณมากและเป็นความลับ เพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานทั่วประเทศ

อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพของบริการปรึกษาทางออนไลน์ในมิติที่รอบด้านทั้งเรื่องสุขภาวะ ทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ และผลิตสื่อความรู้ให้เข้าถึงเยาวชนในวงกว้างขึ้น
อันจะช่วยเยาวชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงได้เร็วและลดการแพร่เชื้อสู่สังคม รวมถึงการ
เพิ่มประสิทธิภาพในระบบส่งต่อ เพื่อเชื่อมโยงกับสถานพยาบาลทั่วประเทศ
ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้ออย่างรวดเร็ว
เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายโครงการฯ ได้รับการอนุเคราะห์จากศิริราชมูลนิธิ บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และมูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย(TNAF)
จัดนิทรรศการภาพถ่าย เพื่อรัก..อย่างปลอดภัย
ระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR) ชั้น 12 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อเปิดรับการสนับสนุนและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม..ร่วมยุติเอดส์ในประเทศไทย